The Art Of Record
เสน่ห์ที่เป็นมากกว่าเเค่ “เสียง”


ยุคสมัยนี้การฟังเพลงนั้นง่ายยิ่งกว่าปลอกกล้วยเข้าปากซะอีก
จะฟังเพลงอะไรเเค่เปิดเเอพสตรีมมิ่งเพลงขึ้นมา เท่านี้เพลงเป็นล้าน ๆ
ก็มากองอยู่ตรงหน้าเราทันที หรือถ้าให้ง่ายไปกว่านั้น
เพียงเเค่กระซิบบอก Siri ว่าอยาก ฟังเพลง เพลงโปรดของคุณ
ก็จะเล่นขึ้นมาทันทีโดยไม่ต้องร้องขอ ในเมื่อการฟังเพลง
มันง่ายขนาดนี้ เเต่ทำไม “แผ่นเสียง” ถึงยังคงเป็นที่ถวิลหา
ของคนในยุคนี้? ทั้งที่ราคาก็ไม่ใช่ถูก ๆ การจะฟังเเต่ละทีก็ต้องใช้เวลา
เเล้วสเน่ห์จริง ๆ ของแผ่นเสียงนั้นอยู่ตรงไหนกัน
วันนี้ Frank The More You Know! เลยอยากพาเพื่อน ๆ ทุกคน
ไปค้นหาเหตุผลว่าทำไมเจ้าแผ่น Vinyl ที่มีประวัติมากว่า 100 ปี
ถึงยังเป็นที่นิยมลากยาวมาจนถึงทุกวันนี้ได้

“โฟโนกราฟ” สิ่งประดิษฐ์ยุคบุกเบิก
ผู้เปรียบได้เป็นทวดของวงการมิวสิกสตรีมมิ่ง

ก่อนจะไปรู้ถึงเหตุผลว่าทำไมเจ้าเเผ่นเสียง
ถึงกลับมาเป็นที่นิยมได้ในยุคนี้? เราอยากพาทุกคนย้อนกลับไป
ในปี 1857 หรือประมาณ 165 ปีที่เเล้ว เพื่อไปสำรวจ
วิธีการฟังเพลงของคนในสมัยก่อน หลายคนอาจเข้าใจว่า
เครื่องเล่นแผ่นเสียงถูกผลิตขึ้นมาก่อน แต่ความจริงแล้ว
เครื่องบันทึกเสียงนั้นถูกคิดค้นขึ้นก่อนใครเพื่อน
โดยเจ้าเครื่องบันทึกเสียงยุคเเรกนั้นมีชื่อว่า
โฟโนโตกราฟ (Phonautograph)
โดยเอดัวร์-เลอง สก็อตต์ เดอ มาร์ติ นวิลล์
นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศสผู้คิดค้นอุปกรณ์ที่สามารถบันทึกคลื่นเสียง
โดยเจ้าเครื่องนี้สามารถนำเสียงพูด
มาแปลงลงในกระดาษได้เป็นครั้งแรก
แต่โฟโนโตกราฟนั้นยังมีข้อจำกัดคือไม่สามารถเล่นเสียงได้

 

เครื่องบันทึกเสียง “โฟโนโตกราฟ” (1857)

หลังจากนั้นไม่นานพ่อมดเเห่งวงการสิ่งประดิษฐ์ผู้ยิ่งใหญ่
นามว่า ทอมัส เอดิสัน ได้เล็งเห็นถึงช่องโหว่
ของเครื่องโฟโนโตกราฟที่สามารถบันทึกได้เเค่เสียงเเต่ “ฟังไม่ได้”
ทอมัสจึงได้พัฒนาเครื่อง “โฟโนกราฟ” ขึ้นมาเครื่องที่สามารถ
"บันทึก" และ "เล่น" เสียงได้ในเครื่องเดียวโดยบันทึกผ่าน
“กระบอกเสียง” (Cylinder Record) ที่หุ้มด้วยแผ่นดีบุก

การเข้ามาของเครื่อง “โฟโนโตกราฟ” หรือ “เครื่องกระบอกเสียง”
นั้นได้พลิกโฉมหน้าของการฟังดนตรีไปตลอดกาล
หลังจากเครื่อง โฟโนโตกราฟออกสู่ท้องตลาดได้ไม่นาน
ท้องถนนทั่วทุกหนเเห่งต่างเต็มไปด้วยเสียงดนตรี
เหล่าพ่อค้าเเละนักธุรกิจหัวใสได้นำเจ้าเครื่องกระบอกเสียง
ไปตั้งไว้ตามที่ต่าง ๆ ใครที่มาหยอดเหรียญ
ก็จะได้ฟังเพลง มุกขำขัน หรือบทละครต่าง ๆ
ที่ถูกใส่ไว้ในเครื่องซึ่งในยุคนั้นเครื่องบันทึกเสียง Phonograph
ของ Edison ก็ฮิตถล่มทลาย ถึงขนาดที่ตู้หนึ่ง
สามารถทำเงินได้อาทิตย์ละ 100 ดอลลาร์เลยทีเดียว

 

”เเกรโมโฟน” เเละยุคทองของเเผ่นเสียง

เเต่เทคโนโลยีนั้นไม่เคยหยุดนิ่ง เมื่อยุคสมัยผ่าน
มันจะต้องมีสิ่งใหม่ที่ดีกว่าเกิดขึ้นเสมอในวงการเครื่องบันทึก
เสียงก็เช่นกัน เครื่องแกรโมโฟน (Gramophone)
โดยฝีมือของเอมิล เบอร์ลินเนอร์ ที่ต่อยอดไอเดีย
มาจากเครื่อง โฟโนกราฟของทอมัส เอดิสัน
ได้สร้างความเเปลกใหม่ที่เหนือกว่า เพราะเครื่องบันทึกเสียง
ในครั้งนี้เเตกต่างไปจากทุกครั้ง ด้วยระบบมือหมุน
ที่สามารถบันทึกและเล่นเสียงผ่านจากจานเสียง (Disc)
หรือที่เรียกว่า "แผ่นครั่ง" ที่ให้คุณภาพเสียงที่คมชัดกว่า
จนนำไปสู่การพัฒนาเเละกลายเป็นเครื่องเล่นแผ่นเสียง
และเเผ่น Vinyl ที่เราใช้กันในปัจจุบัน

ถ้าว่ากันตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์
เครื่องเล่นแผ่นเสียง (Record player) ได้ออกสู่สายตาสาธารณชน
เป็นครั้งแรกในปี 1895 ซึ่งมีกระแสตอบรับดีมาก
ถึงแม้กระแสของเครื่องเล่นแผ่นเสียงจะเริ่มซาลง
ในช่วง 30's และ 40's เพราะการเข้ามาของสื่ออย่างวิทยุ
ที่ราคาถูกเเละเข้าถึงคนหมู่มากได้เยอะกว่า เเต่เครื่องเล่น
เเผ่นเสียงก็ยังคงขายดีในกลุ่ม
คนรักแผ่นเสียงจนกระทั่งยี่สิบปีให้หลัง

ในช่วงต้นยุค 60's เครื่องเล่นแผ่นเสียงได้กลับมา
ทวงบัลลังค์อีกครั้ง หลังจากการเปิดตัว
เครื่องเล่นแผ่นเสียงอัตโนมัติระบบเสียงสเตอริโอรุ่นแรก
ด้วยระบบเสียง Hi-Fi (High Fidelity)
ที่ขยายเสียงได้คมชัด ไพเราะ ไม่ผิดเพี้ยน เป็นจุดขายที่เรียกได้ว่า
ตอนนั้นใคร ๆ ก็ต้องมีเจ้าเครื่องเล่นเเผ่นเสียงชนิดนี้ติดบ้านเอาไว้
เเละความนิยมของกระเเสเครื่องเล่นเเผ่นเสียง
ก็ได้ลากยาวมาเรื่อย ๆ จนก้าวเข้าสู่ยุค 90s
ที่เครื่องเล่นเทปคาส เซ็ทได้เข้ามาตีตลาดทำให้
ความนิยมของเครื่องเล่นเเผ่นเสียงเริ่มลดลง
ขยับมาในปี 1993 การเข้ามาตีตลาด ของเครื่องเล่น CD นั้น
มาเเรงเเซงทุกโค้งเนื่องจากมีราคาที่ถูก หาซื้อง่าย
เเละคุณภาพเสียงไม่ต่างจากต้นฉบับมากนัก
แถมยังสามารถโหลดข้อมูลเก็บไว้ได้ สุดท้ายเครื่องเล่นเเผ่นเสียง
เเละเทปคาสเซ็ทก็ค่อย ๆ เลือนหาย เเละหมดความนิยมลงไป

 

5 เหตุผลที่ทำให้เเผ่นเสียงฆ่าไม่ตาย

หลังจากที่ CD, MP3 ครองกระแสสำหรับคนชอบฟังเพลงมาหลายปี
มาจนถึงยุคมิวสิกสตรีมมิงที่อะไรก็ง่ายและรวดเร็วไปหมด
ผู้คนทั้ง "รุ่นเก๋า" และ "รุ่นใหม่" ต่างพากันโหยหาอดีต
และการใช้ชีวิตที่ช้าลง ทำให้รสนิยมการฟังเพลงจากแผ่นเสียง
ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง เเละนี้คือ 5 เหตุผลว่า
ทำไมกาลเวลาถึงไม่อาจทำอะไรเเผ่นเสียงพวกนี้ได้เลย

1. “ความรู้สึกได้ครอบครอง”
การฟังเพลงจากในเเอพสตรีมมิงนั้นเหมือนเป็นการ “เช่า”
ซึ่งเราจะไม่ได้รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของในเพลง ๆ นั้นเลย
เเต่การซื้อเเผ่นเสียงนั้นจับต้องได้มันทำให้เรา
รู้สึกได้เป็นส่วนหนึ่งเเละยังสามารถเก็บสะสมได้
เเถมบางเเผ่นซื้อเก็บไว้ยิ่งนานราคายิ่งขึ้น

2. “เสน่ห์เเห่งรายละเอียด”
อีกหนึ่งสเน่ห์ของเเผ่นเสียงก็คือรายละเอียด
เราสามารถเปิดดูข้อมูลต่าง ๆ ในอัลบั้ม
ได้ทั้งข้อมูลว่าใครเป็นคนเเต่งเพลง เพลงนี้บันทึกเสียงที่ไหน
ใครเป็นคนทำซาวด์ รวมไปถึงเครดิตต่าง ๆ
ซึ่งถ้าเราฟังเพลงในเเอพข้อมูลพวกนี้
ก็เราคงต้องไปนั่งหาใน Google เอาเอง

3. “คุณภาพเสียง”
เสียงจากเเผ่นเสียงนั้นไม่ถูกบีบอัดไฟล์
ทำให้ตัวเสียงไม่สูญเสียคุณภาพ เเละเราสามารถ
ได้ยินทุกองค์ประกอบของเพลงนั้น ๆ ผ่านเเผ่นเสียงได้
เนื่องจากเเผ่นเสียงมีช่องความถี่ที่กว้าง
ทำให้เสียงที่ออก มามีความสมบูรณ์ครบในทุกมิติ

4. “เสียงนั้นสร้างคอมมิวนิตี้”
ร้านแผ่นเสียงไม่ได้มีไว้เพื่อการช็อปปิ้งเท่านั้น
เเต่ยังเป็นสถานที่เชื่อมต่อกันของกลุ่มคน
ที่รักในเสียงดนตรีเหมือนกันเพื่อพูดคุย
เรื่องเเลกเปลี่ยนเรื่องต่าง ๆ ซึ่งการฟังเพลง
ในรูปแบบออนไลน์ นั้นไม่สามารถให้ได้

5. “ศิลปินยุคใหม่ก็ทำเเผ่นเสียง”
ใครว่าเเผ่นเสียงจะต้องมีเเต่วงจากยุค 60s 70s เท่านั้น
เพราะศิลปินรุ่นใหม่ ๆ ก็ต่างให้ความสำคัญ
เเละผลิตผลงานในรูปแบบแผ่นเสียงมาให้เรา
ได้เก็บสะสมกันทั้งนั้น ยกตัวอย่างเช่น The Weekend
ราชาเพลงป็อปยุคใหม่ที่เพิ่งปล่อยอัลบั้มล่าสุด Dawn FM
ซึ่งทาง Weekend ได้ออกเเผ่นเสียงใน เวอร์ชั่น Collector
มาถึง 3 แบบด้วยกันเเละยังมีศิลปินอีกมากมายทั้ง
Travis Scott, Billie Eilish, Tyler The Creator
เเละอีกหลายคนที่ทยอยปล่อยเเผ่นเสียง
ออกมาให้เหล่าเเฟน ๆ ได้กระเป๋าฉีกกัน!

พูดมาขนาดนี้ในที่สุด! ก็ได้เวลาขายของเเล้ว
เพราะตอนนี้ FRANK เราเพิ่งมีเเบรนด์แผ่นเสียง
@h___records เข้ามาวางจำหน่ายที่ชั้น 2 ของร้าน
บอกได้เลยว่าของเเน่นมากมีทุกเเนวให้เลือกสรร
ตั้งเเต่วงอินดี้นอกกระเเส ไปยันวงดังในกระเเส
ใครที่สนใจมาลองรื้อกันได้รับรองว่าได้ของดีกลับบ้านเเน่นอน