Frank Pop Journey :
Music drive Fashion
เมื่อดนตรีคือเชื้อเพลิงขับเคลื่อนวงการแฟชั่น!

 

สิ่งหนึ่งที่คอยขับเคลื่อนวงการแฟชั่นมาตลอดนั่นก็คือ "ดนตรี"
เราแทบจะจินตนาการถึงภาพของโลกที่ "ดนตรี" และ "แฟชั่น"
ไม่ได้อยู่คู่กันไม่ออกเลยด้วยซ้ำ ด้วยประเด็นนี้เอง
จึงทำให้เกิดความสงสัยที่ตามมา ว่าเอ๊ะ!
เมื่อไหร่กันนะ ? ที่ดนตรีเริ่มกลายเป็นส่วนหนึ่งของแฟชั่น
แล้วเมื่อไหร่กัน? ที่ผู้คนเริ่มแต่งตัวตามศิลปีนที่พวกเขาชื่นชอบ
แล้วดนตรีกับแฟชั่นนั้นกลายเป็นส่วนผสมของกันและกัน
ตั้งแต่ตอนไหน? เมื่อมีคำถาม ถ้างั้น Frank Pop Journey
สัปดาห์นี้เราขออาสาพาเพื่อน ๆ ไปหาคำตอบผ่านการ
สำรวจประวัดิศาสตร์อันยาวนานของวงการดนตรีและแฟชั่นกัน

 

ความเหมือนในความต่างของ "ดนตรี" และ "แฟชั่น"

 

อย่างแรกที่เราพอจะบอกได้ทันทีถึงความเหมือนกัน
ของ "ดนตรี" และ "แฟชั่น" นั่นก็คือสองสิ่งนี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือ
ในการแสดงออกถึงตัวตน ความเชื่อ ความคิด
ที่เราต้องการจะบอกกับสังคมมาตั้งแต่ยุคที่มนุษย์
เราเริ่มมีอารยธรรม นอกจากนั้นแฟชั่นยังเปรียบเสมือน
จดหมายเหตุทางวัฒนธรรมที่คอยบอกเล่า
เรื่องราวของผู้คนในแต่ละยุคสมัยได้เป็นอย่างดี

 

Early 1950s

 

ย้อนกลับไปในปี 1920 ช่วงเวลานั้นเอง
ดนตรีแจ๊สเพิ่งถือกำเนิดขึ้น และมันมักจะถูกเล่นแค่เพียงในไนต์คลับ
ซะเป็นส่วนใหญ่ เพราะไนต์คลับนั้นเป็นเพียงพื้นที่เดียว
ที่คนจากหลายหลายเชื้อชาติที่ถูกจับมาเป็นทาส
จะมาร้องเล่นเต้นรำกันอย่างสนุกสนาน
เพื่อผ่อนคลายจากชีวิตประจำวันที่ถูกกดขี่ข่มเหงได้
ผู้หญิงวัยรุ่นหลายคนเลือกจะแหกขนบที่สังคมวางไว้
ด้วยการสวมใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ ชุดสั้น ๆ ไม่ใส่เสื้อใน
เพื่ออิสระในการเต้นรำได้ตลอดทั้งคืน ซึ่งจะแตกต่าง
กับค่านิยมในตอนนั้นที่ผู้หญิงจะต้องสวมกระโปรง
และชุดลายลูกไม้โดยสิ้นเชิง นี่เองจึงเป็น
จุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ของดนตรีและแฟชั่น

 

The 50's

 

ในช่วงปี 20s ถึง 40s เรื่องของแฟชั่นนั้น
ถือเป็นโลกของผู้ใหญ่ที่มีรสนิยมเท่านั้น และมันดูเป็นเรื่องที่ไกลตัวมาก
ในหมู่วัยรุ่นและคนธรรมดาปูถุชนทั่วไป แต่การเข้ามาของสื่อ
อย่างโทรทัศน์ในปี 1950 นั้นได้เปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์ไปตลอดกาล
วัยรุ่นทั่วโลกเริ่มเห็นภาพปรากฎของเหล่าดารา
และศิลปินที่ชัดเจนขึ้น รวมถึงการถือกำเนิด
ของราชาเพลงร็อกตลอดกาลอย่าง เอลวิส เพรสลีย์
ส่งผลให้วัยรุ่นทุกคนหันมาใส่กางเกงขาม้า
แจ็กเก็ตหนังและเซ็ตผมทรง Pompadour กันเต็มท้องถนน
ปรากฎการณ์ในครั้งนี้เองทำให้เหล่าดีไซเนอร์
ต่างเริ่มมองเห็นถึงตลาดแฟชั่นในหมู่วัยรุ่น และอุตสาหกรรมแฟชั่น
สำหรับวัยรุ่นจึงได้เริ่มถือกำเนิดขึ้นในยุคนี้

 

The 60's

 

ขยับเข้ามาในยุค 60s ที่วัยรุ่นในอเมริกาส่วนหนึ่งถูกเกณฑ์ทหาร
เพื่อใช้เป็นกำลังหลักในการทำสงครามเวียดนาม
นักดนตรีในสมัยนั้นจึงได้เริ่มเขียนเพลงที่สะท้อนถึงเสรีภาพ
การต่อต้านสงคราม เพื่อแสดงออกว่าพวกเขาไม่เห็นด้วย
กับการกระทำของรัฐบาลอเมริกา จนเกิดเป็นกลุ่มฮิปปี้
หรือ วัยรุ่นที่ต่อต้านสงครามขึ้นมา ส่งผลให้กระแสแฟชั่นในยุคนั้น
ได้เปลี่ยนไปจากยุค 50s โดยสิ้นเชิง
กลุ่มวัยรุ่นจำนวนมากหันมาใส่เสื้อที่แสดงออกถึงเสรีภาพ
เช่น เสื้อมัดย้อม , เสื้อผ้าถัก
กางเกงขากระดิ่ง และใส่เครื่องประดับจากธรรมชาติ

 

The 70's

 

แต่พอมาในยุค 70s ที่สงครามได้จบลง
กลุ่มฮิปปี้ก็เริ่มโดนปราบปรามและเลือนหายไปตามกาลเวลา
และอีกส่วนสำคัญก็คือการมาถึงของภาพยนตร์เรื่อง Star Wars
ภาพยนตร์เรื่องแรก ๆ ที่มีการใช้ Special Effects
ส่งผลให้กระแสของนิยายวิทยาศาสตร์ในยุคนั้นถูกจุดติด
ผู้คนทั่วโลกต่างคลั่งไคล์ในนิยายวิทยาศาสตร์
ไม่เว้นแม้แต่เหล่าศิลปินอย่าง DavidBowie,
Marc Bolan และวง Kiss เองก็ต่างได้รับแรงบันดาลใจ
ในการทำวงมาจากนิยายวิทยาศาสตร์เช่นกัน
ส่งผลให้ในยุคนั้นเกิดดนตรีร็อคแนวใหม่
ที่เรียกว่า Glam Rock ขึ้นยุค Glam Rock
นั้นถือว่าเป็นอีกยุคที่มีแฟชั่นที่ชัดเจน
ด้วยการแต่งกายสีฉูดฉาด เสื้อยืดเสื้อเชิ้ต
รองเท้าบู๊ตหนังและจัดเต็มด้วยเครื่องประดับทั้งผ้าพันคอ
สร้อย แหวนเพื่อแสดงออกถึงความหรูหรา
ทำให้ว้ยรุ่นในยุคนั้นนิยมใส่เสื้อผ้าสีเจ็บ ๆ กันซะเป็นส่วนใหญ่

The 80's

 

ยุค 80s เองเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านวัยรุ่น
ที่เคยเป็นแฟนคลับของวง Glam Rock เริ่มเบื่อหน่าย
กับความจำเจของแนวเพลงเดิมๆ และเริ่มมองหาอะไร
ที่เฉพาะทางมากขึ้น พวกเขาเปลี่ยนจากความสดใส
ให้กลายเป็นความหมองหม่นจนเกิดเป็นดนตรีสไตล์กอธิค
ที่มีรากฐานมาจากดนตรีเดธอค โดยจะมีลักษณะ
ในการแต่งกายที่มักสวมชุดสีดำ แต่งหน้าซีด
ทาลิปสติกสีเบอร์กันดี ซึ่งในยุคนั้นจะมีวงอย่าง
The Cure, Bauhaus และ
Joy Division เป็นแกนนำแฟชั่น

 

The 90's

 

ขยับมาที่ยุค 90s ยุคสมัยแห่งความหลากหลาย
เพราะในยุคนี้นั้นเกิด Subculture ขึ้นมามากมาย
ทั้งในแถบชานเมืองทางฝั่ง Seattle เด็กวัยรุ่น
ต่างระบายความคับแค้นใจที่มีต่อโลกผ่านบทเพลง
ความโกรธที่มีต่อสังคมของหมู่วัยรุ่นนั้น
ก่อให้เกิดดนตรีร็อคเฉพาะทางอย่าง Grunge ขึ้น
โดยมีหัวหอกผู้นำความกรันจ์เป็นวงอย่าง Nirvana, Pearl Jam
และ Alice In Chains ด้วยความที่ดนตรี Grunge นั้น
มีเนื้อหาถึงการก่นด่าและการระบาย แฟชั่นในยุคนั้น
จึงแสดงออกถึงความไม่เรียบร้อยโดยจะมีไอเทมยอดฮิต
อย่าง เสื้อลายสก๊อตกางเกงยีนต์เก่า ๆ ขาด ๆและรองเท้าบูท
ข้ามฟากมาที่ฝั่งนิวยอร์กเองก็มีวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นมา
ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันอย่าง HipHop ดนตรีที่ได้รับอิทธิพล
จากดนตรีดิสโก้ ซึ่งเป็นที่นิยมมากในหมู่คนผิวสี
โดยเนื้อหาส่วนมากในเพลงจะพูดถึงชีวิต เรื่องรอบตัว
ยาเสพติดและเซ็กส์ แต่ด้วยความโดดเด่นของวัฒนธรรม
ที่มีความหลากหลายทำให้กระแสของ Hiphop
ขยายออกไปในหมู่วัยรุ่นทั่วโลก ผู้คนเริ่มเลียนแบบแฟชั่น
ของแร็ปเปอร์ทั้งการใส่กางเกงทรงหลวม
ชุดวอร์มกีฬาขนาดใหญ่ และสร้อยทอง
อันเป็นเอกลักษณ์ของเด็ก Hiphop

 

Todays

 

ตัดภาพมาในปัจจุบันยุคสมัยนั้นได้เปลี่ยนไป
เส้นแบ่งทางดนตรีและแฟชั่นเริ่มกลมกลืนเข้าด้วยกัน
เราสามารถผสมผสานดนตรีเข้ากับแฟชั่นได้ทุกรูปแบบ
เพราะแฟชั่นนั้นอิสระมากพอ! คุณจะหยิบเอากางเกงขากระดิ่ง
ในสไตล์ฮิปปิ้มาแมทชกับเสื้อแจ็กเก็ตหนังในแบบ
ร็อคสตาร์ก็ไม่มีใครว่า หรือจะเอาหยิบเอาเกงทรงหลวม
ในสไตล์ Hiphop มาผสมกับรองเท้าบูทจากยุค 50
ก็ย่อมได้หรือจริง ๆ แล้วแนวดนตรีนั้นอาจเป็นเพียงเครื่องมือ
ในการแสดงออกอย่างหนึ่งแต่ไม่ใช่กรอบที่มาคอยกำหนดว่า
สไตล์ไหนควรเป็นแบบไหน แต่สไตล์ที่ดีนั้นควรมาจาก
การค้นหาและสำรวจเข้าไปว่าจริง ๆ อะไรที่หมาะกับตัวเรา
โดยไม่ต้องสนใจเรื่องแนวดนตรีที่คอยปิดกั้นอิสระของเราไว้