วงกลมสมบูรณ์แบบสีเหลือง ดวงตารูปวงรี และรอยยิ้มที่สดใส
ในปัจจุบันเจ้าไอคอนหน้ายิ้มนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่ง
ในชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่า
จะมาเป็นอิโมจิที่แสดงอารมณ์หลากหลาย เส้นทางของ Smiley นั้น
เต็มไปด้วยเรื่องราวที่น่าสนใจ หลากหลายอารมณ์
วันนี้เราจะขอพาชาว Franky ทุกคนไปสำรวจ
ความเป็นมาของสัญลักษณ์แห่งความสุขนี้กัน

ประวัติศาสตร์ของใบหน้ายิ้มแย้มอันสดใส

สัญลักษณ์หน้ายิ้มนั้นอยู่คู่กับนุษย์มานานหลายพันพันปี
ย้อนกลับไปตั้งแต่ยุค Neolithic ราวๆ 7000-1700 ปีที่แล้ว
หรือที่เรียกกันว่ายุคหินใหม่ เป็นช่วงมนุษย์เริ่มอาศัยรวมกันอยู่แบบหมู่บ้าน
มีการเรียนรู้การเกษตรเลี้ยงสัตว์ และ เครื่องปั่นดินเผา
ซึ่งในยุคนี้มีหลักฐานการค้นพบหน้ากากที่มีการเจาะรู
ให้แสดงสีหน้าคล้ายๆกับหน้ายิ้ม ผ่านมาอีกหลายศตวรรษ
ในปีคริสต์ศักราช 1741 ก็พบหลักฐานลายเซ็นหน้ายิ้ม
ของเจ้าอาวาสของเมือง Zd'ar nad Sazavou แห่งสาธารณรัฐเช็ก
ต่อมาในปี 1920 สัญลักษณ์หน้ายิ้มก็ปรากฎอีกครั้ง
ในหนังสือ Novel Drawing For Beginners โดย Dorothy Furniss
และหน้า Smiley Face Balloon บนโฆษณาประชาสัมพันธ์
Gregory FUNNY-B'LOONS ที่ตีพิมพ์โดย The Billboard
ในวันที่ 18 มีนาคม ปี 1922 และนี่เป็นเพียงไม่กี่ตัวอย่าง
ของสัญลักษณ์หน้ายิ้มที่เรามักพบเห็นได้ตามหน้าประวัติศาสตร์

เรื่องราวการกำเนิดอันยุ่งเหยิงของไอคอนหน้ายิ้ม

ไม่ว่าจะมีสัญลักษณ์หน้ายิ้มในประวัติศาสตร์ครั้งแรก
แต่ก็ไม่ได้เหมือนกับสัญลักษณ์หน้ากลมสีเหลืองของ Smiley ที่เราคุ้นเคยกัน
จนกระทั่งในปี 1962 ที่สถานีวิทยุ WMCA
ที่มหานครนิวยอร์ก ได้แจกจ่ายเสื้อ Sweatshirt สีเหลืองนับพัน
ที่มีลายหน้ายิ้มและสโลแกน WMCA Good Guy
และสำคัญที่สุดในปี 1963 สัญลักษณ์หน้ายิ้มที่ได้เราพบเห็นได้ทั่วโลก
ถูกออกแบบโดย Harvey Ross Ball กราฟฟิคอาร์ตดิส
จาก Worcester, Massachusetts สหรัฐอเมริกา ซึ่ง Harvey
ถูกจัดจ้างโดยบริษัทประกัน The State Mutual Life Assurance
ให้ออกแบบสัญลักษณ์ที่จะใช้เสริมกำลังใจของพนักงาน
เนื่องจากบริษัทพึ่งผ่านการเปลี่ยนผ่านครั้งยิ่งใหญ่มาหมาดๆ
Harvey ได้รับค่าจ้างเป็นเงิน 45 ดอลล่าห์ในขณะนั้น
และเขาใช้เวลาเพียงไม่ถึงสิบนาทีในการใช้ปากกามาร์กอร์สีดำ
วาดสัญลักษณ์หน้ายิ้มลงบนกระดาษสีเหลือง ในที่สุดก็กลายเป็น
แคมเปญ 'The Friendship' โดยสัญลักษณ์หน้ายิ้มก็ถูกนำไปอยู่ที่ป้าย
โปสเตอร์ และ ตราเข็มกลัดนับพันชิ้น โดยทั้งบริษัทและ Harvey
ก็ไม่ได้จดทะเบียนการค้าหรือจดลิขสิทธิ์ดีไซน์
แต่ใดๆทำให้ต่อมาในปี 1967 ที่ธนาคารแห่งเมือง Seattle
รัฐ Washington มีกราฟฟิคอาร์ตติสชื่อ George Tenagi
ก็ได้ดีไซน์กราฟฟิคหน้ายิ้มและสโลกแกน Put on a Happy Face
ให้กับธนาคารโดยแจกจ่ายในรูปแบบสินค้าทั้งกระปุกออมสิน
กระเป๋าสตางค์ และตราเข็มกลัดที่ขายไปถึง 150,000 ชิ้น
และสุดท้ายในปี 1970 พี่น้อง Bernard และ Murray Spain
นำดีไซน์หน้ายิ้มมาดัดแปลงและติดสโลกแกน Have a happy day
(ภายหลังเปลี่ยนเป็น Have a nice day) และจัดจำหน่ายเข็มกลัด
ไปทั้งหมดถึง 50 ล้านชิ้น ในปี 1971
สองพี่น้องจดลิขสิทธ์ดีไซน์แบบใหม่พร้อมสโลกแกนในที่สุด

จากสัญลักษณ์หน้ายิ้มสู้ Smiley ไอคอนแห่งความสุข

ยุคสงครามเย็นในช่วงปี 1970 สถานการณ์ต่างๆ รอบโลกดูไม่ค่อยสู้ดีนัก
วิกฤติเกิดขึ้นรายวันข่าวคราวร้ายๆ ก็โพล่เต็มหน้าหนังสือพิมพ์
จนกระทั่งในปี 1972 คุณ Franklin Loufrani
นักข่าวฝรั่งเศสหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศส France Soir
ได้ออกแบบ Smiley Face ของตัวเองดีพิมพ์บนคอลัมน์ข่าว
Good News ที่คอยเผยแพร่ข่าวดีที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นเพื่อเป็นกำลังใจ
และส่งต่อพลังบวกให้กับผู้อ่าน หลังจากผลตอบรับที่ดีอย่างล้นหลาม
Franklin ตัดสินใจจดทะเบียนการค้าเจ้าไอคอนหน้ายิ้ม
แห่งความสุขนี้ในชื่อ 'Smiley' เป็นครั้งแรก และก่อตั้งบริษัท
Smiley Company ขึ้นมา จากนั้นเป็นต้นมา Smiley
ก็กลายเป็นไอคอนแห่งยุคอย่างเป็นทางการ โดย Smiley
กลายเป็นส่วนหนึ่งของหลากหลาย Subculture
ยกตัวอย่างในปี 1972 Mad Magazine นำไอคอนแห่งความสุขนี้ขึ้นปก
ต่อมาราวๆปี 1973 Dc Comic ก็เริ่มนำ Smiley
มาเป็นตัวละครในการ์ตูน และที่โดดเด่นที่สุดคงไม่พัน
ในเรื่อง Watchmen ที่ Smiley กลายเป็นสัญลักษณ์ของตัวละคร
The Comedian โดยลาย Smiley เปื้อนเลือดสีแดง
กรุยทางไปสู่วัฒนธรรมดนตรีแนว Acid House
ในปี 1988 โปรดิวเซอร์ Bomb the Bass ปล่อยเพลงฮิต
'Beat Dis' โดยใช้ Smiley ลายเลือดสไตล์ Watchmen
เป็นปกของ Record และนี่เป็นหนึ่งในการเปิดตัวของ Smiley
ให้เป็นสัญลักษณ์ของ Rave Culture เมื่อเวลาผ่านไป
คุณ Nicolas ลูกชายของ Franklin Loufrani ก็ได้สืบทอด
และพัฒนาธุรกิจเรื่อยมาซึ่งในยุคนั้นเป็นยุคเปลี่ยนผ่าน
จาก Analog ไปเป็น Digital โดย Nicolas สังเกตเห็น
ASClI emoticons ในการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต
ด้วยการใช้เครื่องหมาย Punctuation ต่างๆ ( :) ; :D )
แทนความรู้สึก เขาจึงเกิดไอเดียลองใช้ Icon Smiley
ในการส่งความรู้สึกแทน ก่อนที่ช่วงหลังจะมี Emoji
เข้ามาแทนที่ทว่าชุดไอคอนแทนความรู้สึกของ Smiley นั้นเป็นเอกลักษณ์มาก
ถึงขั้นที่ Nicolas จัดทำ Smiley Dictionary
ขึ้นมาซึ่งเป็นหนึ่งในต้นแบบของ Emoji ที่เราพบเห็นกันในปัจจุบัน

Smiley Collaborations การกระจายความสุขไปไกลทั่วโลก

จากวันนั้นสู่วันนี้ Smiley กลายเป็นไอคอนสำคัญของโลกมาถึง 50 ปีแล้ว
ด้วยความเรียบง่ายของดีไซน์ และหัวใจหลักของการส่งต่อความสุข
ทำให้สื่อสารได้แบบสากลไม่มีกำแพงกั้น เริ่มตั้งแต่ความคิด
ในการส่งต่อพลังบวกผ่านข่าวดีของ Franklin Loufrani
มาจนถึงการต่อยอดที่ชาญฉลาดของ Nicolas Loufrani
ที่มุ่งเน้นการส่งต่อไอคอนให้ไปสู่พื้นที่ต่างๆ ทั่วโลกให้มากที่สุด
ด้วยการทำธุรกิจแบบ Co-Creation ที่ทำการ Collaboration
กับแบรนด์ที่หลากหลายทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ไฮเอนด์
อย่าง Gucci ไปจนถึงแบรนด์ระดับกลางหรือ Mass Market ต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นวงการอาหารเครื่องดื่มเช่น Mc Donald, Nutella
และ Dunkin Donuts หรือไม่ว่าจะเป็น ห้างสรรพสินค้า
ของแต่งบ้าน และเทคโนโลยี ในปัจจุบันแบรนด์ของ Smiley
ก็ก้าวกระโดดไปเป็นสัญลักษณ์ทางการค้าทั่วโลก
ปัจจุบันมีรูปแบบหน้า Smiley มากกว่า 3000 แบบ
กลายเป็นแบรนด์ไลฟ์สไตล์อย่างเต็มตัว และได้ Collaboration
กับแบรนด์แฟชั่นระดับโลกมากมาย ตั้งแต่ Levi Strauss & Co.,
Raf Simons, Moschino, Crocs, Reebok,
Chinatown Market, Messika, ZARA และ H&M

และเนื่องในโอกาสการเฉลิมฉลอง 50 ปีของ Smiley
เราชาว Frank มีโอกาสได้ทำ Collaboration เพื่อส่งมอบความสุข
ในแบบฉบับของ Frank และ Smiley ภายใต้คอนเซ็ปท์
"SIAM SMILEY CELEBRATION INFINITE HAPPINESS"
ที่พร้อมส่งสุขให้อบอุ่นหัวใจส่งท้ายปีด้วยหลากหลายไอเทมสุดเก๋
ทั้งเสื้อยืดลายกราฟิกสุดน่ารัก หมวก และพวงกุญแจ
ก็น่าจับจองทั้งหมด บอกเลยว่า limited สุดๆ
เพื่อนๆ ที่สนใจสามารถไปช้อปกันได้ที่ ONESIAM SUPERAPP
ตั้งแต่วันนี้หรือจนกว่าสินค้าจะหมด นอกจากดิสเพลย์สินค้าสุดเจ๋งแล้ว
เรายังมีจุดถ่ายรูปทั่วสยามอีกด้วย ถ้าไม่อยากตกเทรนด์
แวะมาเจอกันได้ที่ สยามเซ็นเตอร์นะทุกคน!