เกือบ 44 ปีที่แล้วที่ตอนแรกของ Mobile Suit Gundam
แฟรนไชส์ไซไฟสุดล้ำที่มาก่อนกาลได้ออกอากาศให้เราได้รับชม
จากวิโชว์แห่งยุคไปจนถึงไอคอนวัฒนธรรมแห่งแดนอาทิตย์อุทัย
ที่เปลี่ยนภาพลักษณ์ของหุ่นยนต์ยักษ์ไปตลอดกาล
เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 1 ปี
ของ Gundam Base Thailand วันนี้พวกเราชาว Frank
จะพาเพื่อนๆไปสำรวจจุดกำเนิดของจักรวาล
กันดัมอันกว้างใหญ่ พร้อมแล้วก็ไปกันเลย!

จุดเริ่มต้นของหุ่นปีนเหล็กแห่งอิสระภาพ

ย้อนกลับไปเมื่อ 7 เมษายน 1979 เป็นวันที่แฟรนไชส์กันดัมเริ่มต้นขึ้น
โดย Yoshiyuki Tomino และกลุ่มอนิเมเตอร์ของ Sunrise
ที่ใช้ชื่อเรียกแทนกลุ่มว่า Hajime Yatate
ชื่อของ Gundam มาจากชื่อแรกคือ
Freedom Fighter Gunboy หรือเรียกสั้นๆว่า Gunboy
และผสานกับชื่อเริ่มต้นของสิ่งต่างๆในซีรี่ย์เช่น "White Base"
คือ "Freedom Fortress" "Core Fighter"
คือ "Freedom Wing" "Gun Perry"
คือ "Freedom Cruiser" เป็นต้น พวกเขาจึงรวมคำกลายเป็น
"Gundom" ก่อนที่จะถูกคุณ Tomino
เปลี่ยนให้เป็น Gundam เนื่องจากความสามารถ
ที่สามารถตงศัตรูได้เหมือนกับเขื่อน (Dam) นั่นเอง

Mobile Suit Gundan ทีวีซีย์แอนิเมชั่นของญี่ปุ่น
ที่เป็นตัวการสำคัญในการเริ่มต้นแนวการ์ตูน "Real Robot"
นั่นก็คือหุ่นยนต์ที่ "เป็นไปได้จริง" ที่แตกต่างกับการ์น
หรือซีรีย์แนวหุ่นยนต์ที่มีพลังพิเศษนั่นเอง
โดยเนื้อเรื่องของ Mobile Suit Gundam นั้นว่าด้วยเรื่อง
ของสงครามและการเมืองของมนุษย์สองฝั่งที่ใช้หุ่นรบ
Mobile Suit สู้รบกัน โดยหุ่นรุ่น Gundam คือรุ่นพิเศษ
ที่มีพลังสูงกว่ารุ่นทั่วไปมากซึ่งต่างจากแนวการ์ตูนหุ่นยักษ์
ในขณะนั้นที่เน้นการต่อสู้ระหว่างหุ่นรบที่มีพลังพิเศษกับเอเลี่ยนสัตว์ประหลาด
และเหล่าวายร้ายต่างๆ ซึ่งมีชื่อเรียกแนวนั้นว่า "Super Robot"
ยกตัวอย่างเช่น Mazinger Z ซุปเปอร์หุ่นยักษ์ไอคอน
อีกตัวนึงของญี่ปุ่น และ Battle Fever J ซีรี่ย์แรกที่ใช้คำว่า
Super Sentai (ก่อนหน้านี้เป็น Sentai เฉยๆ) นั่นเอง

จักรวาลแฟรนไชส์ที่เกือบจะไม่ได้เกิดขึ้น

แม้ว่าในปัจจุบัน Mobile Suit Gundam
กลายเป็นตำนานที่ใครๆก็รู้จัก และมีแฟนๆเดนตายทั่วโลก
แต่ทว่าในจุดเริ่มต้นนั้นกลับไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร
ด้วยเนื้อหาที่ผู้ใหญ่และใหม่มากในขณะนั้นในการนำ
ประเด็นละเอียดอ่อนอย่างสงคราม และความเป็นมนุษย์เข้ามา
ในอนิเมะหุ่นรบที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับมนุษย์ฝ่ายต่างๆ
ในอนาคตที่ใช้หุ่นรบ Mobile Suit ทำสงครามกัน
และมีการเสียเลือดเสียเนื้อกันจริงๆ ซึ่งในฝ่ายนักวิจารณ์มองว่า
Mobile Suit Gundam คืออนิเมะที่ยกระดับความเป็นไปได้ของวงการ
และด้วยเนื้อหาที่แตกต่างกว่ามาตรฐานการ์ตูนหุ่นรบยุคนั้น
แต่อย่างไรก็ตามความนิยมของคนดูที่ยังไม่เปิดกว้าง
กับเนื้อหานี้ก็ไม่ค่อยดีนัก จึงทำให้เกือบจะถูก Cancel ไป
หลังจาก 39 ตอนแรก แต่ยังดีที่ในสุดท้ายได้ฉายจนจบ

ในการออกอากาศครั้งแรกของ Mobile Suit Gundam
หนึ่งในสปอนเซอร์หลักของพวกเขาคือ Clover
ผู้ที่เป็นคนเสนอให้ Gundam ใช้สีแดง เหลือง และน้ำเงิน
แบบที่ดลาดของเล่นและการ์ดนหนรบสมัยนั้นนิยมใช้กัน
ซึ่งต่างจากสิ่งที่ผัสร้าง Tomino คิดไว้นั่นก็คือ
หุ่นสงครามที่เสมือนจริงด้วยสีสันพื้นๆที่มองเห็นได้ยาก
ในสมรภูมินั่นเอง ซึ่งของเล่น Gundam ที่ผลิตโดย Clover นั้น
เป็นรูปแบบ Chogokin Die-cast Metal หรือที่รู้จักกัน
ในชื่อหุ่นซุปเปอร์อัลลอยนั่นเอง ซึ่งในยุค 70s นั้น
เป็นที่นิยมอย่างมากในตลาดของเล่นญี่ปุ่น
ทว่าหลังจากกระแสของซีรีย์อนิเม Mobile Suit Gundam
ไม่ได้ดีเท่าที่ควร และเหมือนจะไม่ได้ไปต่อ ก็มีบริษัทของเล่น Bandai
ซื้อลิขสิทไปทำของเล่นต่อ แต่ไม่ใช่ในสไตล์ซุปเปอร์อัลลอย
แต่เป็นรูปแบบพลาสติกที่ใช้กาวต่อซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
และนอกจากความสนุกในการประกอบและสะสมโมเดลสไตล์นี้
ยังมีราคาที่เป็นมิตรราว 300 เยน (ราว 75 บาท)
ในค่าเงินตอนนั้นและในปัจจุบันถ้าเป็นรุ่นทั่วไป
ก็ยังเริ่มต้นที่ 1000 เยน (ราว 252 บาท) ซึ่งถือว่าเป็นเจ้าของได้ง่ายเช่นกัน

จักรวาลแห่งจินตนาการอันไร้ขีดจำกัด

ด้วยความนิยมของหุ่นของเล่นจาก Bandai ทำให้กระแส
Mobile Suit Gundam กลับมานิยมอีกครั้งการฉายใหม่
ของซีรี่ย์ก็ได้รับกระแสตอบรับดีกว่าที่เคยเยอะมาก
โดยหลังจากนั้นในปี 1985 เราก็ได้เห็น Mobile Suit Ze ta Gundam
ที่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการสร้าง ภาคต่อ ภาคเสริม
มังงะ ภาพยนตร์ อีกมหาศาลที่เติมเต็มให้ Gundam
กลายเป็นจักรวาลไม่แพ้กับ Starwars หรือ Star Trek เลยทีเดียว

Funfact: หุ่น Gundam ของ Bandai ในปัจจุบันนั้นรู้จักในชื่อ
Gunpla เป็นการผสมคำนำหน้าระหว่าง Gundam + Plastic
นั้นเองเนื่องในโอกาสที่ทางสยามเซ็นเตอร์ร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ 1 ปี
Gundam Base Thailand ที่เป็น Original Flagship Store ที่แรก
และแห่งเดียวของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คราวนี้ทางสยามเซ็นเตอร์
ก็ได้เชิญศิลปิน ดีไซเนอร์ และนักศึกษา มาร่วมออกแบบ
และเพ้นท์คัสตอมหุ่นกันดั้มในแบบฉบับของตัวเอง
เพื่อร่วมเฉลิมฉลองและแสดงความคิดสร้างสรรค์
และพบปะพูดคุยกับคอมมิวนิตี้ที่ชื่นชอบกันดั้มเหมือนกัน
โดยทาง Frank Garcon ก็ส่วนร่วมในการออกแบบนี้กับเขาด้วย!
นอกจากนี้ยังมีหลากหลายแบรนด์ที่ร่วมสร้างสรรค์กันดั้ม
ในสไตล์ของตัวเองออกมาด้วยเช่น
AUNTYSHAUS, IWANNABANGKOK,
GIVE.ME.MUSEUMS, และ STUPIDSHIT