Protest Art
Frank Art Explore : Protest Art
เมื่อศิลปะกลายเป็นสัญลักษณ์เเห่งการต่อสู้!
งานศิลปะเปรียบเสมือนเป็นภาพจำลองสังคมจำลอง
ชีวิตของผู้คนในเเต่ละยุคสมัย ศิลปินหลายคนใช้งานศิลปะ
ในการจรรโลงจิตใจ เเต่ก็มีศิลปินอีกหลายคนที่ใช้ศิลปะเพื่อ
การเเสดงทัศนคติต่ออำนาจที่ไม่ชอบธรรมต่ออำนาจที่กดทับอิสระภาพ
ต่อความเป็นจริงในสังคมที่ถูกเพิกเฉย วันนี้ Frank Art Explore
ขอพาเพื่อนๆเข้าสู่โหมดจริงจังกันบ้าง เราจะพาเพื่อนๆไปรู้จักกับ
Protest Art หรือ ศิลปะเเห่งการต่อต้าน ที่อยู่ในรูปแบบต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็น ภาพวาด สัญลักษณ์ เพลง ปกอัลบั้ม พร้อมทั้ง
เกร็ดความรู้มาฝากกันอีกเช่นเคยถ้าทุกคนอยากรู้จักศิลปะเเขนง
นี้กันเเล้วก็อย่ารอช้า!! หยิบสมุดเตรียมปากกาจดเล็คเชอร์
กันให้ดีเเล้วไปอ่านกันเล้ยยยยยยย
เริ่มต้นกันที่ภาพวาด Liberty Leading the People (1830)
ของจิตรกรชาวฝรั่งเศส เออเเฌน เดอลาครัว ถ้าจะ พูดถึงภาพวาด
Protest Art ภาพนี้คงเป็นภาพเเรกๆที่หลายๆคนจะนึกถึงภาพ
การปฏิวัติฝรั่งเศส โดยเหตุการณ์ในภาพจะเล่าถึงช่วงหลังจากการ
ปฏิวัติฝรั่งเศสรอบเเรก ที่เกิดผลกระทบมากมายการเมืองระส่ำระส่าย
มีการเปลี่ยนเเปลงการปกครองเต็มไปหมดได้มีการเปลี่ยนจาก
ระบอบประชาธิปไตยไปเป็นเผด็จการ เก้าอี้ในตำแหน่งกษัตริย์ก็ถูก
สับเปลี่ยนกันเป็นว่าเล่นจนในที่สุดการปฏิวัติในรูปก็เกิดขึ้น
ระหว่างวันที่ 27-29 กรกฎาคม 1830
ในวันที่ 27 ประชาชนต่างลุกฮือขึ้นมาเพื่อโค่นล้มพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10
น้องชายของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ในการประท้วงมีประชาชนจากทุก
ชนชั้นไม่ว่าจะเป็น ชนชั้นแรงงาน หรือชนชั้นกลาง ทุกคนต่างพร้อมใจ
ลุกขึ้นมาโค่นล้มอำนาจอยุติธรรมกันอย่างพร้อมเพรียง
ในวันที่ 29 ในที่สุดประชาชนก็สามารถยึด Hôtel de Ville
หรือ ศาลาว่าการประจำกรุงปารีสไว้ได้ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10
ก็ได้หนีออกจากฝรั่งเศสเเละรัฐบาลชั่วคราวในตอนนั้นก็ได้เเต่งตั้ง
ญาติห่างๆของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 หรือก็คือ พระเจ้าหลุยส์ ฟิลลิปป์
ขึ้นมาเป็นกษัตริย์เเทน (การเมืองฝรั่งเศสช่วงนี้จะงงๆหน่อยปฏิวัติ
โค่นล้มอำนาจกษัตริย์เเต่ดันได้กษัตริย์อีกคนมาเเทนซะงั้น) เเละในอีก
2 ปีต่อมาก็ได้มีการ ปฎิวัติอีกครั้งใน ปี 1832 หรือก็คือในช่วงที่
พระเจ้าหลุยส์ฟิลลิปป์ครองราชย์นั่นเอง ฝรั่งเศสก็ยังวนเวียนอยู่กับ
การปฎิวัติโค่นล้มอำนาจเดิมได้ก็จะมีอำนาจใหม่ขึ้นมาเเทนที่เเละถูก
โค่นล้มออกไปสับเปลี่ยนไปเรื่อยๆเป็นเวลานานกว่า 231 ปี หรือ
กว่า 17 ครั้ง ที่มีการเปลี่ยนเเปลงระบบการปกครองไปมาจน
ในที่สุดก็ได้อิสรภาพเเละระบอบสาธารณรัฐที่ เสถียรมากพอเเละ
ใช้ต่อเนื่องจนถึงในปัจจุบัน
เกริ่นนำถึงประวัติวัติศาสตร์ไปเเล้วมาพูดถึงตัวภาพวาดกันบ้าง
อย่างที่ได้บอกไปภาพวาดสีน้ำมันภาพนี้ วาดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลอง
การปฎิวัติฝรั่งเศส โดยเป็นภาพของเทพีเเห่งเสรีภาพ ที่อยู่ใน
รูปลักษณ์ของหญิงสาวชาวบ้านท่าทางหาญกล้าเสื้อผ้าขาดหลุดลุ่ย
เเละบนศีรษะเธอสวมหมวกฟรีเจียน หรือ หมวกผ้าสีเเดง ที่เป็น
เครื่องหมายของอิสรภาพ (ในสมัยโบราณนักปฏิวัติมักสวม
หมวกฟรีเจียนสีเเดงจนมันกลายเป็นสัญลักษณ์ของ การปฏิวัติไปเลย)
มือของหญิงสาวชูธงสามสีของกองทัพปฎิวัติ (ซึ่งต่อมากลายเป็น
ธงชาติของฝรั่งเศส) เธอเเละพวกเขาเดินนำหน้าเหล่าประชาชน
หลากหลายชนชั้นก้าวข้ามร่างของศัตรูผู้บาดเจ็บล้มตาย โดยมีเบื้อง
หลังเป็นซากปรักหักพังของกรุงปารีส หลายๆคนอาจจะสงสัย
เเล้วหญิงสาวในภาพเป็นใครกันล่ะ เฉลยก็คือ เธอไม่มีตัวตน
หญิงสาวในภาพเป็นตัวแทนเเห่งเสรีภาพที่ชาว
ฝรั่งเศสตั้งชื่อว่า มารีแอนน์ เป็นเหมือนเทพที่ถูกอุปโลกน์
ขึ้นมาใหม่โดยประวัติของเธอยังคงเป็นปริศนาจนถึงทุกวันนี้
ภาพวาดนี้ถูกยกให้เป็นผลงานที่โด่งดังที่สุดของเดอลาครัว
ถึงเเม้ตัวของเขาเองไม่เคยเข้าร่วมในการ ปฏิวัติใดๆ
เเต่เขาต้องการวาดภาพนี้ขึ้นมาเพื่อสดุดีเเก่เหล่า
นักปฏิวัติผู้กล้าหาญผู้ยอมเเลกอิสระภาพเพื่อ
โลกที่พวกเขาอยากเห็น
โดยเขาได้เขียนจดหมายถึงพี่ชายของเขาว่า
“ถ้าฉันไม่ได้ต่อสู้เพื่อประเทศชาติ
อย่างน้อยฉันก็จะวาดภาพนั้นขึ้นมา”
ใครเป็นเเฟนวงบริตป๊อบอย่าง Coldplay กันบ้าง
ที่เราต้องหยิบยกวง Coldplay มาพูดถึงด้วยก็เพราะว่า
อัลบั้ม Viva La Vida ของทางวงเอง ได้หยิบภาพ
Liberty Leading the People มาเป็นภาพปกอัลบั้มหลัก
ซึ่งสาเหตุก็เพราะว่าในอัลบั้มนี้มี เพลง Viva la Vida ที่มีเนื้อหา
พูดถึงกษัตริย์ที่หลงใหลในอำนาจ เคยครอบครองทุกอย่างจนมา
วันหนึ่งที่ตัวเขาได้สูญเสียอำนาจนั้นไป เหมือนกับชีวิตของ
พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 ซึ่งทุกเพลง ในอัลบั้มนี้ล้วนได้เเรงบันดาลใจ
มาจากชีวิต พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 เเละเหตุการณ์ใน
การปฏิวัติฝรั่งเศสนั่นเอง
ไหนๆก็พูดถึงเรื่องวงดนตรีกันเเล้วเรามาพูดถึง Protest Art
ชิ้นหนึ่งที่เป็นสุดยอดโลโก้เเห่งการต่อต้านอำนาจ รัฐกันดีกว่า
นั้นก็คือโลโก้ของวง Black Flag วง ฮาร์ดคอร์พังค์วงเเรกๆ
ของโลก ที่โด่งดังเป็นพลุเเตกเเละจุดกระเเสความพังค์ให้กับ
ประเทศอเมริกาโดยที่มาของชื่อวง Black Flag นั้นมีความหมาย
ว่า“ถ้าธงขาว (White Flag) หมายถึงการยอมเเพ้
ธงดำ (Black Flag) ก็หมายถึง การไม่ยอมเเพ้ หรือ
การต่อต้านอำนาจรัฐ” เเละโลโก้ของวง ก็ได้ออกแบบเป็น
สี่เหลี่ยมผืนผ้าสี่ชิ้นที่วางเรียงกันอย่างไม่เสมอ
สื่อถึงลักษณะการพริ้วไหวของธงนั่นเอง
นอกจากงานศิลปะจากวงดนตรีเเล้วก็ยังมีงานศิลปะ
ที่เป็นเหมือนคู่ปรับกับกฎหมาย งานศิลปะที่ขัดขืนต่ออำนาจรัฐ
งานศิลปะที่ถูกกล่าวหาว่าเป็น อาชญากรรม นั่นก็คือ
กราฟฟิตี้ (Graffiti) งานกราฟฟิตี้นั้นถือว่าเป็นงานศิลปะ
ประเภท Protest Art เช่นกัน ส่วนศิลปินที่เราจะหยิบยกมาก็คง
จะหนีไม่พ้น เเบงก์ซี (Banksy) ศิลปินกราฟฟิตี้ชาวอังกฤษสุดลึกลับ
เจ้าพ่อเเห่งกราฟฟิตี้สมัยใหม่ ซึ่งผลงานของเขามักจะจิกกัด
เสียดสีเเฝงไปด้วยประเด็นทางการเมืองที่คมคายเสียดสีโลกทุนนิยม
งานของ Banksy จะใช้เทคนิคสเตนซิล (Stencil) หรือการนำ
กระดาษหรือวัสดุอื่นๆ มาเจาะรูให้เป็นรูปร่าง เเล้วพ่นสีตามรู
เหล่านั้นจนเกิดเป็นภาพออกมา
งานที่เราหยิบยกมาพูดวันนี้ก็คือภาพ The Mild Mild West (1999)
ผลงานชิ้นเเรกในนามปากกาชื่อ Banksy เป็นภาพภาพตุ๊กตาหมี
กำลังขว้างวัสดุทรงคล้ายระเบิดขวดใส่ตำรวจสามคนที่กำลังจะเข้า
มาจับกลุ่มเจ้าหมีหลังจากภาพนี้กลายเป็นที่รู้จักชื่อของ Banksy
ถูกเล่าปากต่อปากไปทั่วเกาะอังกฤษถือเป็นเรื่องตลกร้ายที่ผู้คน
ต่างเฝ้ารอที่จะชื่นชมงานต่อไปของเขาขณะที่
ตำรวจก็เฝ้ารอเพื่อจะจับกุมตัวเขาเช่นกัน
อีกงานหนึ่งของ Banksy ที่เราชื่นชอบมากเป็นการส่วนตัว
ก็คืองานที่มีชื่อว่า “IF GRAFFITI CHANGED ANYTHING,
IT WOULD BE ILLEGAL” เป็นกลุ่มตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ที่
ถูกพ่นตัวโตๆด้วยสเปร์ยสีเเดงสดเเละก็มีหนูท่อ
ที่เป็นสัญลักษณ์ของตัว Banksy เองยืนสองขาอยู่ใต้ภาพ
เป็นงานที่เสียดสีอย่างตรงไปตรงมาคำว่า “ถ้ากราฟฟิตีเปลี่ยน
โลกได้มันคงผิดกฎหมาย” บนงานของเขาก็คงจะเป็นความ
จริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ถึงงานที่เขาทำมันจะเปลี่ยนโลกมอบ
ความหมายให้กับผู้คนได้ เเต่สุดท้ายมันก็ยังคงผิดกฎหมาย
และ Banksy ยังเคยอธิบายไว้ว่าทำไมเขาถึงเลือกใช้หนูเป็น
ตัวเเทนของเขาก็เพราะว่า “ถ้าคุณรู้สึกสกปรกไร้ความสำคัญ
หรือไม่มีใครรัก หนูคือตัวแทนของคุณหนูดำรงอยู่ในสถานที่
ต่างๆโดยไม่ได้รับอนุญาต หนูไม่สนกฎเกณฑ์อะไรทั้งสิ้น
ไม่สนชนชั้นทางสังคม”
มาถึงงานสุดท้ายกันเเล้วเราจะพูดถึงงานศิลปะ
เเสดงสดที่โด่งดังที่สุดงานหนึ่งนั้นก็คืองาน
Bed-lns For Peace ของ จอห์น เลนนอน กับภรรยา
โยโกะ โอโนะ ในช่วงที่สงครามเวียดนามกำลังเป็น
ประเด็นทางสังคม พวกเขาทำศิลปะการเเสดงสดด้วยการนอน
อยู่บนเตียง โรงแรมฮิลตันในอัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์
และ โรงแรมควีนเอลิซาเบธ นมอนทรีออล แคนาดา โดย
ไม่ไปไหนเป็น เวลาสองสัปดาห์ เป็นการประท้วงเชิงสัญลักษณ์
โดยไม่ใช้ความรุนแรงเพื่อต่อต้านสงครามเเละทดลอง
หาหนทางใหม่ๆในการเรียกร้องสันติภาพ ซึ่งได้รับเเรงบันดาลใจ
มาจากการประท้วงแบบ “sit-in” ที่เป็นหนึ่งในรูปแบบ
ของการประท้วงโดยไม่ใช้ความ รุนแรง
นอกจากงานที่เราหยิบยกมาเเล้วจริงๆก็ยังมีอีกหลายงาน
ของศิลปินที่สะท้อนถึงการต่อสู้ของคนตัวเล็กที่ ถูกกดทับ
ทั้งจากระบบที่ไม่เป็นธรรม จากสังคมที่เหลื่อมล้ำ หรือจาก
เพื่อนมนุษย์ด้วยกันเองยังไงซะอำนาจบางอย่างในสังคม
ก็ยังคงมีอยู่เเต่อย่างน้อยที่สุดเราก็ยังศิลปะเป็นเครื่องมือ
ในการต่อสู้ต่อความไม่ชอบธรรมเหล่านั้น