Frank Pop Journey : How to Be Grunge
กลับมาให้หายคิดถึงกันอีกครั้งกับ Frank Pop Journey
คอนเทนต์ที่จะพาเพื่อนๆไปสำรวจเเฟชั่นในทุก Pop Culture
วันนี้เราจะพาเพื่อนๆไปสำรวจโลกเเห่งดนตรีกัน กรันจ์ (Grunge)
เชื่อว่าทุกคนคงคุ้นหูกับคำนี้มาบ้างไม่มากก็น้อย เเต่เรารู้นะ!
ว่าหลายคนก็อาจยังสงสัยอยู่ว่า เอ๊ะ! จริงๆเเล้วกรันจ์คืออะไรเเฟชั่น
แบบไหนที่เรียกว่ากรันจ์เเล้วถ้าอยากจะเป็นวัยรุ่นกรันจ์มั่งต้องทำไง?
Frank Pop Journey เรามีคำตอบ ถ้าหากทุกคนพร้อมที่จะกรันจ์
ไปกับเราเเล้ว งัดความขบถในตัวออกมาเเล้วไปกรันจ์กันเล้ยยยยย!




ถ้าอยากจะกรันจ์ให้ถึงเเก่นก็ต้องรู้จักที่มาของกรันจ์กันก่อน
กรันจ์เป็นเเนวดนตรีเเละวัฒนธรรมหนึ่งที่เริ่มเฟื่องฟู
ในช่วงปี 1990 ดนตรีกรันจ์กำเนิดเเละเติบโตที่เมืองซีเเอตเทิล
(Seattle) รัฐ Washington ประเทศ สหรัฐอเมริกาในช่วง
กลางยุค 80 ผู้คนต่างมัวเมาเเละหลงระเริงอยู่ในวิถีเเห่ง
Rock N Roll เคลิบเคลิ้มกับเหล่า วงร็อคเเฮร์เเบนด์ (Hairband)
ที่มาพร้อมกับวิถีเเห่งร็อกสตาร์ อู้ฟู่ หรูหรา ผมยาวสลวยสวยเก๋
ตัดภาพมาที่เมืองซีเเอตเทิลคือเมืองใหญ่ที่ถูกทอดทิ้ง มันคือเมือง
ของชนชั้นเเรงงานอากาศที่หนาวเกินกว่าจะออกไปข้างนอกผู้คน
ส่วนใหญ่จึงต่างใช้เวลาไปกับการกินดื่มใช้สารเสพติดเเละ
การฟังเพลงเเต่เเทนที่จะฟังเพลงเเนว

เเกลม เมทัล (Glam metal) ของเหล่าวงเเฮร์เเบนด์ที่กำลังเป็น
ที่นิยมอยู่ในตอนนั้นพวกเขากลับเลือกฟังวงอย่าง Black Flag,
Black Sabbath, Sonic Youth
ที่เป็นดนตรีทางเลือก
ซะมากกว่า จนในปี 1985 ค่ายเพลงอินดี้ท้องถิ่นอย่าง
cc record ได้เริ่มผลักดันวงท้องถิ่นในซีเเอตเทิลอย่าง
Green River, Soundgardan, Skin Yard จนได้ออก
เป็นอัลบั้ม DEEP SIX อัลบั้มที่รวบรวมวงดนตรีท้องถิ่นในเมือง
ซีเเอตเทิลเอาไว้จนในที่สุด ดนตรีร็อกเเนวใหม่ที่มีซาวนด์หยาบกร้าน
เสียงกีต้าร์ดิบสากเนื้อหาวิพากษ์สังคมอย่างเกรี้ยวกราดก็ได้ถือ
กำเนิดขึ้น ณ เมืองซีเเอตเทิล จนผู้คนต่างขนานนามเเละเรียกดนตรี
กรันจ์ในอีกชื่อหนึ่งว่า ซีเเอตเทิล ซาวนด์m(Seattle Sound)




เเล้วเเฟชั่นในแบบกรันจ์เป็นยังไงกันนะ?นอกจากความ
เป็นดนตรีแนวใหม่มาแรงแห่งยุคแล้ว กรันจ์ยังมาพร้อม
แฟชั่นแบบใหม่ที่แหกทุกกฎของ วงดนตรีในยุคก่อนหน้าไม่ว่าจะ
เป็น แฮร์แบนด์ หรือ พังก์ ที่มีการแต่งหน้าทำผมมีเสื้อผ้าที่ดีไซน์
มาอย่างดี แต่กรันจ์มาพร้อมกับเสื้อผ้าเก่าๆขาดๆคล้ายๆคนยากจน
หรือกลุ่มคนไร้บ้านที่คุ้ยเสื้อผ้าจากขยะมาห่อหุ้มร่างกาย ซึ่งเสื้อผ้า
ส่วนใหญ่ของชาวกรันจ์ในยุคนั้นส่วนใหญ่มักจะได้มาจากร้าน
Thrift Shop หรือร้านขายเสื้อผ้าบริจาคในราคาที่ถูกส่วนมากจะ
เป็นเสื้อสไตล์ Outdoor ของชนชั้นเเรงงาน เช่น เสื้อ Flannel-
Plaid Shirt
(เสื้อ ลายตาราง) หรือที่บ้านเราเรียกว่า เสื้อตัดอ้อย
นั่นแหละส่วนกางเกงก็เป็นยีนส์ขาดๆเก่าๆ หรือในบ้างทีก็ต้องหยิบยืม
กางเกงเก่าของพ่อตัวเองมาใส่เสื้อในกลุ่ม Sweater ตัวใหญ่ๆ
ก็มักเป็นที่นิยมในหมู่ชาวกรันจ์เพราะ เมืองซีเเอตเทิล เป็นอีกเมืองที่
ขึ้นชื่อเรื่องความหนาวเหน็บในช่วงฤดูหนาวเเละที่ขาดไม่ได้อีกอย่าง
ของชาวกรันจ์ก็คือ รองเท้าบูทเเละหมวกไหมพรม ในยุคกรันจ์เอง
ยังมีคติเเปลกๆว่า “ยิ่งคุณจ่ายเงินให้เสื้อผ้าน้อยเท่าไหร่คุณจะ
ยิ่งเท่มากเท่านั้น”
เเฟชั่นแบบกรันจ์นั้นไม่ใช่การต่อต้านเเฟชั่น
เเต่มันคือการไม่มีเเฟชั่นเลยมากกว่าด้วยความที่กรันจ์นั้นไม่มีรูปแบบ
เเฟชั่นที่ตายตัวด้วยความอิสระไร้กฎเกณฑ์มันจึงทำให้วัฒนธรรม
การเเต่งกายแบบชาวกรันจ์เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเเฟชั่น
ที่ส่งต่อกันมาเรื่อยๆจนถึงทุกวัน

4 ไอเทมที่ชาวกรันจ์ควรมี (4 Must Have Grunge Items!)

1.Flannel Plaid Shirt (เสื้อลายตาราง)
No F Image: MADMATTER OVER SHIRT - TARTAN


มาเริ่มกันที่ไอเทมเเรกเเละยังถือเป็นไอเทมหลักของสไตล์กรันจ์
เลยก็ว่าได้นั่นก็คือ เสื้อลายตาราง เสื้อสไตล์นี้นั้นเรียกได้ว่า
เป็นที่นิยมฮอตฮิตในหมู่ชาวกรันจ์แบบสุดๆเนื่องจากในสมัยก่อน
เสื้อชนิดนี้มักถูกใส่โดยชนชั้นเเรงงานเเละบวกกับเมืองซีเเอตเทิล
ในสมัยก่อนที่เป็นเมืองของชนชั้นเเรงงาน เสื้อชนิดนี้จึงเป็นที่
เเพร่หลายทั้งในหมู่คนทำงาน เเละในหมู่ชาวกรันจ์อีกด้วย


Frank Fun Fact: เชื่อว่าต้องมีเพื่อนๆหลายคน
เข้าใจผิดว่า Flannel Shirt คือ เสื้อลายตาราง
เเต่จริงๆเเล้ว Flannel คือชนิดของ “เนื้อผ้า” ซึ่งจริงๆ
เเล้วมันคือ “ผ้าสักหลาด” ที่มักทอมาจากเส้นใยผ้าวูล หรือ
ผ้าฝ้าย ส่วนลายตารางจริงๆเเล้วว่ามีชื่อเรียกว่า “Plaid”
หรือ ก็คือผ้าลายสก็อต ดังนั้นเวลาจะเรียกเสื้อลายตารางที่
ถูกต้องจริงควรเรียกว่า Plaid Shirt นั่นเอง

2.Grunge Jeans

No B Image: TRUFFLE OFFICIAL TRF JEANS (GRAY)
No E Image: TTRUFFLE OFFICIAL JEANS 1015

มาต่อกันอีกหนึ่งไอเทมที่ขาดไม่ได้สำหรับชาวกรันจ์
ก็คือกางเกงยีนส์ ยิ่งเก่า ขาดๆ สีเฟดๆ ยิ่งดี ในสไตล์แบบ
กรันจ์ต้องไม่ปรุงเเต่งอะไรเยอะ เน้นขาดๆ เซอร์ๆ จับคู่กับรองเท้า
คอนเวิร์สเก่าๆ หรือ รองเท้าบูท สักคู่เเค่นี้ก็ได้กลิ่นอาย
แบบ ชาวกรันจ์ เเล้ว


3.Grunge Tees

No C Image: ALL FOR NOTHING FUCK BAD LUCK
No D Image: SURWAY ASIAN
No F Image: S.V.S.S LONGSLEEVE 040 SVSS

 

เสื้อยืดก็เป็นอีกหนึ่งไอเทมที่ชาวกรันจ์ควรมีเสื้อสไตล์
กรันจ์ถ้าไม่สกรีนรูปแปลกๆ ก็ต้องเป็นเสื้อที่มี เวิร์ดดิ้ง
อย่างพวกคำแสลงคำสบถ ที่เเสดงออกถึงการเสียดสี
จิกกัดสังคม ความเบื่อหน่ายต่อโลกทุนนิยมเเละต้องเป็น
เสื้อผ้าที่ไม่พอดีกับตัวถ้าไม่รัดติ้วก็ต้องโอเวอร์ไซส์ใหญ่โคร่งไปเลย

4.Beanie HatNo B Image: MORE SHIRT WATCH CAP (ORANGE)
No E Image: MORE SHIRT WATCH CAP (RED)
No F Image: MORE SHIRT WATCH CAP (CREAM2)
No H Image: MORE SHIRT WATCH CAP (BROWN)

มาถึงไอเทมสุดท้ายกันเเล้วกับ หมวกบีนนี่ (Beanie)
หรือ หมวกไหมพรม ไอเทมที่จะช่วยให้ลุคในแบบชาวกรันจ์
ดูเต็มขึ้น เนื่องด้วยอากาศที่หนาวเย็นในเมืองซีเเอลเทิล
หมวกบีนนี่จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยบรรเทาอาการหนาวเย็น
เเละหน้าที่ของหมวกบีนนี่ยังมีไว้สำหรับชนชั้นเเรงงานใน
สมัยก่อนที่ต้องทำงานในโรงงานที่ต้องใส่หมวกเพื่อเป็น
การเก็บผมให้เป็นระเบียบเรียบร้อย จนมาในปัจจุบันหมวกบีนนี่
กลายเป็นไอเทมเเฟชั่นที่เข้าถึงวัยรุ่นทุกกลุ่มรวม
ถึงกลุ่มชาวกรันจ์อีกด้วย

เเม้ตอนนี้กรันจ์อาจเหลือเเค่เพียงกลิ่นอายวัฒนธรรม
ในแบบกรันจ์ก็ถูกวันเวลาพัดพาหายไปเหลือไว้เพียงทัศนคติ
เเห่งความขบถเเละอิสระ อิสระที่จะเป็นตัวเอง อิสระในการเเต่งตัว
เหลือทิ้งไว้เพียงช่วงเวลาที่น่าจดจำ เคยมีใครบ้างคนกล่าวไว้ว่า
“ ถ้าก่อนหน้านั้นร็อคสตาร์คือใครสักคนที่ดูยิ่งใหญ่ดูแปลก
ประหลาดจนเหมือนมาจาก ดาวดวงอื่น เราจะจดจำยุค
ของกรันจ์เอาไว้ว่า
นี่คือช่วงเวลาที่ร็อคสตาร์ทำตัวเหมือน
มนุษย์เดินดินที่สุด”