Frank Art Explore :
Conceptual Art
อะไรก็เป็นศิลปะได้!

โถฉี่ในร้านสุขภัณฑ์ กล้วยติดเทปกาว อุจจาระอัดกระป๋อง
ทุกคนเชื่อไหมว่าทั้งหมดนี้คืองานศิลปะ?
วันนี้ Frank Art Explore จะพาเพื่อนๆไปรู้จักกับศิลปะ
เเนว Conceptual Art งานศิลปะที่ไม่ต้องเหมือนงานศิลปะ
ไม่สวยงามสมบูรณ์เเต่เต็มเปี่ยมไปด้วยเเนวคิด ถ้าเพื่อนๆอ่านจบ
เเล้วรับรองได้เลยว่าเปิดโลกอย่างเเน่นอน!
เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา ถ้างั้นเราไปเปิดโลกศิลปะนอกกรอบ
กันเล้ยยยยย



มาเริ่มกันที่ Conceptual Art คืออะไร?
หรือที่หลายคนชอบเรียกในภาษาไทยว่า ‘ศิลปะเเนวคิด’
เกิดขึ้นมาจากกระเเสต่อต้านงานศิลปะกระเเสหลักเช่น
งานจิตรกรรมเเละประติมากรรม ที่ต้องสวยงานปราณีตบรรจง
จนงานจิตรกรรมพวกนี้เกิดมีมูลค่ากลายเป็นสินค้าเชิงพาณิชย์
ให้กับชนชั้นที่มีฐานะซื้อเก็บสะสมเหมือนเป็นของเล่นคนรวย
จนในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1
ก็ได้เกิดกลุ่มดาดาขึ้น (Dadaism) กลุ่มต่อต้านศิลปะชั้นสูง
ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มศิลปิน Avant-garde
ในปี 1914-1918 เพื่อต่อต้านสังคมวัตถุนิยม
เสียดสีสงครามเเละสภาพเเวดล้อมทางสังคม
รวมไปถึงการเยาะเย้ยความงามในศิลปะที่สมบูรณ์แบบ
พวกเขาเชื่อว่าอะไรก็เป็นศิลปะได้ ถ้าไม่สวยงามอลังการก็ไม่เป็นไร
ราคาของศิลปะนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับเทคนิคชั้นสูงหรือ
วัสดุที่ใช้สร้างงาน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ
‘เเนวคิดในการสร้างงาน’ ตั้งหาก!

Frank Fun Fact : Avant-garde (อาว็อง-การ์ด)
มาจากภาษาฝรั่งเศส ที่เเปลว่า Vanguard (เเวนการ์ด)
หรือ
ผู้นำทางสังคม ทหารเเนวหน้าที่ออกรบก่อนใคร
จนภายหลังคำนี้มักถูกใช้เรียกกลุ่มศิลปิน
หรือนักวิทยาศาสตร์
ที่ค้นพบอะไรใหม่ๆ
ภายหลังจากที่เกิดสงครามหรือการปฏิวัติ
เหมือนเป็นการเรียกให้เกียรเเก่ กลุ่มคนที่บุกเบิก

อะไรใหม่ๆ ให้กับสังคมนั่นเอง

ถ้าพูดถึงกลุ่มดาดา (Dadaism) ศิลปินที่เราจะไม่พูดถึงไม่ได้เลย
ก็คือ ศิลปินอย่าง มาร์เเซล ดูชองป์ เเกนนำคนสำคัญของกลุ่มดาด้า
ผลงานในชุด ‘Readymades’ ในปี 1917 ของเขานั้น
ทลายกรอบเดิมๆ ของวงการศิลปะไปจนหมดสิ้น
โดยเฉพาะผลงานอย่าง ‘Fountain’ เเทนที่เขาจะวาดรูป
หรือปั้นงานอาร์ทเขากลับเอาโถฉี่บ้านๆ มาจับตั้งเเล้วเซ็นชื่อลงบนโถฉี่
ว่า R.Mutt โดยดูชองป์ส่งเจ้าโถฉี่ชิ้นนี้เข้าไปร่วมแสดง
ในนิทรรศการศิลปะของสมาคมศิลปินอิสระในนิวยอร์ก
(Society of Independent Artists) โดยใช้นามแฝง
เเล้วในตอนนั้นดูชองป์เจ้าตัวยังเป็นสมาชิกกรรมการศิลปินอิสระ
เองอีกด้วย คือเป็นทั้งคนส่งงานเเละเป็นกรรมการ
ด้วยเลยในคนเดียว เเต่ที่ตลกก็คือ คณะกรรมการคนอื่น
ก็ถกเถียงกันว่าไอ้เจ้าโถฉี่นี่เป็นงานศิลปะจริงรึเปล่า?
(กรรมการหลายคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเป็นงานของดูชองป์)
สุดท้ายคณะกรรมการเลยตัดสินเอาเจ้าโถฉี่ไปเเอบไว้
ระหว่างการเเสดง จนสุดท้ายดูชองป์จึงลาออก
จากการเป็นคณะกรรมการไปด้วยความเซ็ง

ซึ่งภายหลังเจ้าลายเซ็นคำว่า R.Mutt นักประวัติศาสตร์ศิลปะ
ต่างตีความกันไปต่างๆ นานา บ้างก็ว่ามันเป็นคำพ้องเสียง
กับคำว่า Armut ที่แปลว่า "ความยากจน"
บ้างก็ว่าตัวย่อของมัน R.M. = Readymade
ดูชองป์ได้ออกมาเฉลยภายหลังว่าชื่อนี้ได้มาจาก
J.L. Mott Iron Works ชื่อของบริษัท
ขายอุปกรณ์สาธารณูปโภคและ สุขภัณฑ์ที่ดูชองป์ไปซื้อโถฉี่มา
แต่คำว่า “Mott” มันโจ่งแจ้งเกินไป เขาเลยเปลี่ยนเป็น
“Mutt” ซึ่งหยิบยืมมาจากชื่อของหนึ่งในตัวละครจากการ์ตูนช่อง
ในหนังสือพิมพ์อเมริกันที่โด่งดังในยุคนั้นอย่าง Mutt and Jeff
แล้วก็เติม R. ที่ย่อมาจากคำว่า Richard
ซึ่งเป็นศัพท์แสลงในภาษาของฝรั่งเศสของคำว่า
"moneybags" หรือ "ถุงใส่เงิน" ซึ่งเป็นการเสียดสีเรื่องมูลค่า
ที่เกินจริงของศิลปะ ที่แม้แต่ภาชนะรองรับสิ่งปฏิกูลอย่าง
โถฉี่ก็ยังกลายเป็นของมีค่าได้

มาต่อกันที่อีกหนึ่งศิลปิน ที่ได้รับการยกย่อง
ให้เป็น ‘Godfather of the Conceptual Art’
เขาก็คือ John Baldessari (จอห์น บัลเดสซารี่) ศิลปินชาวอเมริกัน
เดิมทีในช่วงต้นยุค 1960 บัลเดสซารี่เริ่มต้นเส้นทางศิลปะ
ด้วยการทำงานจิตรกรรมนามธรรมที่เน้นในการแสดงสีสัน
เเต่ในช่วงปลายยุค 60s เขาเริ่มต้นทำงาน
ที่ใช้ภาพถ่ายเเละบันทึกถ้อยคำลงผืนผ้าใบ เพื่อตั้งคำถาม
เกี่ยวกับงานศิลปะ บัลเดสซารี่ เขาเคยกล่าวเอาไว้ว่า
“เวลาเขาทำงานศิลปะ เขามักตั้งคำถามว่ามันถูกทำขึ้นมาได้อย่างไร”
อย่างผลงาน ‘Tips For Artists Who Want To Sell’
ที่เขานำเอกสารประกอบการสอนในชั้นเรียนเกี่ยวกับ
“เคล็ดลับสำหรับศิลปินผู้ต้องการขายงานศิลปะ”
มาทำเป็นภาพวาดบนผืนผ้าใบ ซึ่งเป็นการจิกกัด
ความเป็นสินค้าของงานศิลปะในรูปแบบข้อความได้อย่างเจ็บเเสบ

หรืออีกผลงาน อย่าง “Wrong” (1967) ภาพถ่ายที่เขาจงใจ
จัดองค์ประกอบให้ทุกอย่างไม่สมประกอบ มีความเอียง
สัดส่วนในภาพก็ผิดหลักการของภาพถ่าย เเละใส่ข้อความกำกับลงไป
ใต้ภาพว่า “WRONG” หรือ “ผิดพลาด”
ภาพนี้จงใจเสียดสีเทคนิคการถ่ายภาพตามหนังสือภาพถ่าย
ด้วยถ้อยคำประชดประชันว่าจริงๆเเล้ว ศิลปะนั้นไม่มีถูกผิด
ไม่ควรมีมาตรฐานความงามที่มาคอยตัดสินว่า
ภาพไหนสวยหรือไม่สวย เพราะเรื่องของความงามนั้น
เป็นเรื่องส่วนบุคค ทุกคนสามารถสร้างงานศิลปะออกมาได้
ตามใจต้องการ

มาที่อีกหนึ่งศิลปินชาวอิตาเลียนจอมเเสบ
ผู้ได้ฉายาว่า “จอมป่วนเเห่งโลกศิลปะ”
อย่าง Maurizio Cattelan (เมาริซิโอ คัตเตเเลน) เขาคนนี้
ได้สร้างผลงานเเสบๆกวนๆ เอาไว้มากมาย
เเต่งานที่ให้ความเป็น Conceptual Art แบบสุดโต่ง
ก็คงหนีไม่พ้นผลงานชื่อ “Comedian” (2019)
ที่ถูกจัดเเสดงในงานเทศกาล ศิลปะ Art Basel Miami
คันตาเเลนเขานำกล้วยติดเทปกาวเเล้วไปเเปะบนผนังเเกลเลอรี่
ผู้คนต่างตั้งคำถามว่ามันคืองานศิลปะจริงหรือ? เเต่กล้วยศิลปะ
ของคันตาเเลนก็ถูกซื้อไปในราคา 120,000 ดอลลาร์
หรือราวๆ 4ล้านบาท

หลายคนตั้งคำถาม? บ้างก็ว่างานนี้มันเป็นการวิพากษ์
สังคมทุนนิยมบริโภคนิยมที่ให้ค่ากับราคา
ของศิลปะมากกว่าตัวงาน เป็นการเสียดสีที่เเสบดีจริงๆ
เเต่ก็มีอีกฝั่งที่ไม่เห็นด้วยเพราะถึงเขาจะพยายามเสียดสี
ความเป็นสังคมวัตถุนิยมเเต่ตัวเขาเองก็รับทรัพย์ไปเหนาะๆ
กับผลงานชิ้นนี้โดยเเทบไม่ต้องทำอะไรเลย
จะว่าไปมันก็ดูย้อนเเย้งดีเหมือนกัน

มาถึงงานสุดท้ายกันเเล้วกับงาน Merda D’Artista
ในชื่อภาษาอังกฤษว่า “Artist’s Shit”
หรือก็คืออุจจาระของศิลปินนั่นเเหละ เป็นผลงานของ
Piero Manzoni (ปิเอโร เเมนโซนี่) ผลงานชิ้นนี้ของแมนโซนี่
คือกระป๋องที่เขียนกำกับไว้ว่าในนี้มีอุจจาระของศิลปิน
หรือของแมนโซนี่อยู่ 30 กรัม เก็บไว้สดๆ
ในเดือนพฤษภาคม 1961 เขาทำมา 90 กระป๋อง
แล้วก็ขายในราคาเท่ากับทอง 30 กรัมในตอนนั้น

งานของเเมนโซนี่นั้นเป็น Conceptual Art ที่ท้าทายกับความเชื่อ
ว่าคุณเชื่อไหมว่านั้นในจะมีอุจจาระอยู่จริงๆ
คุณเชื่อมั่นในตัวศิลปินขนาดไหน? คุณจะเชื่อถึงขนาดยอมจ่าย
ในราคาที่เท่ากับทองคำเพื่อซื้องานศิลปะชิ้นนี้รึเปล่า?
เเต่ด้วยชื่อเสียงของเเมนโซนี่ในวงการศิลปะก็มีคนบ้าจี้
ซื้องานอุจจาระอัดกระป๋องของเขาไปจริงๆ
แล้วแต่ละคนที่ซื้อก็เป็นตัวเป้งๆ ในวงการศิลปะทั้งนั้น
ตั้งแต่มิวเซียมไปจนถึงนักสะสม แถมหลังจากนั้นก็ยังมี
การเอางานนี้ไปประมูลต่ออีกด้วย ความพีคยังไม่จบเท่านั้น
ด้วยความที่กระป๋องทำมาจากเหล็ก เลยทำให้ x-ray ดูไม่ได้
ว่าข้างในมีอะไร ดังนั้นทางเดียวที่จะรู้ว่าข้างในนั้นมีอะไร
ก็คือการเปิดมันออกมา แต่การเปิดออกมา
อาจทำให้มูลค่าของ ของข้างในไร้ค่าไปในทันทีก็ได


ก็จบกันไปเเล้วกับการพาทุกคนไปรู้จัก
กับโลกเเห่ง Conceptual Art เป็นยังไงกันบ้าง
ต้องบอกเลยว่าเเต่ละงานนั้นจิกกัดเเละเสียดสีสังคมแบบสุดๆ
ศิลปะนั้นนอกกรอบเเละไร้ขอบเขต
บางทีเเนวคิดแบบ Conceptual Art
ก็ ย้อนกลับมาให้เราได้ตั้งคำถามว่าจริงๆเเล้ว
อะไรคือความงามในงานศิลปะเเละ สุดท้ายราคาค่างวด
ของงานศิลป์นั้นอยู่ที่ตรงไหนกันเเน่?