Daniel Arsham
Frank Art Explore :
Daniel Arsham
ศิลปินผู้เชื่อมโยง อดีต ปัจจุบัน อนาคตผ่านผลงานศิลปะ
บันไดที่ไม่มีจุดหมายให้ไปถึง ผนังอาคารที่ผุกร่อนทะลุจนเป็นรู
สามารถมองเห็นห้องอื่นๆ ได้ไม่รู้จบประติมากรรมรูปร่างคน
ที่ถูกห่อหุ้มด้วยผ้ายับย่นที่กลืนเป็นเนื้อเดียวกับผนัง
เรามักจะเห็นความแปลกประหลาดน่าพิศวงเหล่านี้ สะท้อนอยู่ในงาน
ของ Daniel Arsham (เเดเนียล อาร์ชัม) ศิลปินหนุ่มชาวนิวยอร์ก
ผู้เปลี่ยนสิ่งของที่เราพบเห็นกันอยู่เเล้วในชีวิตประจำวัน
ให้กลายเป็นโบราณวัตถุเเห่งโลกอนาคต
วันนี้ Frank Art Explore จะพาทุกคนไปขุดคุ้ย
ประวัติของผู้ชายคนนี้ให้มากขึ้นกัน
Daniel Arsham (เเดเนียล อาร์ชัม) เขาเกิดในคลีฟเเลนด์ รัฐโอไฮโอ
เเต่ช่วงชีวิตในวัยเด็กเเดเนียลนั้นได้ไป เติบโตในไมอามี รัฐฟลอริดา
เเดเนียลเข้าเรียนที่ Design and Architecture High School
เเละด้วยทักษะอัน โดดเด่นจึงทำให้เขาได้ทุนไปเรียนต่อที่
The Cooper Union สถาบันวิทยาศาสตร์เเละศิลปะในนครนิวยอร์ก
ที่นั่นเเดเนียล ได้รับรางวัล Gelman Trust Fellowship Award 2003
รางวัลที่จะมอบให้เฉพาะนักเรียนที่จบ
เอกการวาดภาพเเละได้เกรดเฉลี่ย 3.0 ขึ้นไป
หลังจากจบการศึกษาในปี 2004 เเดเนียลได้ย้ายกลับไปที่ไมอามี
ซึ่งเขาเเละกลุ่มเพื่อนได้เปิดเเกลเลอรี่ชื่อว่า “The House”
เเกลเลอรี่ที่รับเเสดงผลงานศิลปะทุกประเภท
ไม่ว่างานจะเเปลกเเหวกเเค่ไหน
ก็สามารถมานำมาจัดเเสดงได้ โดยจะมีตั้งเเต่ภาพวาดเล็กๆ
ไปจนถึงศิลปะระดับภาพยนตร์เเละการเเสดง
ในปีเดียวกันนักออกเเบบท่าเต้นระดับตำนานชาวอเมริกัน
Merce Cunningham (เมิร์ซ คันนิงเเฮม) ได้ขอให้เเดเนียล
ออกแบบฉากเเละเวทีการเเสดงในชุด “EyeSpace” ของเขา
ซึ่งเเดเนียลก็ตบปากรับคำ
จนได้ออกมาเป็นฉากสุดล้ำพิศวง ชวนน่าค้นหา
หลังจากนั้นเเดเนียลก็ได้เข้าร่วมทัวร์การเเสดง
กับคณะของคันนิงเเฮมช่วงเวลานี้เองที่เเดเนียลได้ฝึกฝน
เเละพัฒนาฝีมืออย่างต่อเนื่อง เขาไปทัวร์ทั้งในออสเตรีย ยุโรป
เเละทั่วสหรัฐอเมริกาถึงเเม้จะไม่มีพื้นฐานด้านการออกแบบ
เวทีละครมาก่อนเเต่เขาไม่ย่อท้อพยายามขัดเกลาฝีมืออย่างต่อเนื่อง
จนได้ไปร่วมงานกับ Robert Wilson (โรเบิร์ค วิลสัน)
ศิลปินผู้กำกับละครเวทีทดลองระดับเเนวหน้าของอเมริกา
ด้วยความสวยงามเกินกว่าที่จะเป็นเพียงฉากประกอบเวที
ภายหลังผลงานของเเดเนียลได้ถูกนำไปเก็บสะสม
ในคอลเล็กชั่นถาวรของ พิพิธภัณฑ์ Walker Art Center อีกด้วย
ในปี 2005 เทศกาล Art Basel
เทศกาลศิลปะสุดยิ่งใหญ่กำลังมองหาศิลปินท้องถิ่นหน้าใหม่
มาร่วมจัดเเสดงผลงานเเละผลงานของเเดเนียลก็ดันไปเข้าตา
เจ้าของงานอย่าง Emmanuel Perrotin (เอ็มมานูเอล เปโรติน)
เขาจึงเสนอให้เเดเนียลทำผลงานเเสดงเดี่ยวครั้งเเรกของตัวเอง
เเล้วนำไปจัดเเสดงที่ Perrotin’s Paris Space
เเกลเลอรี่ส่วนตัวของเปโรตินในปารีส
ในที่สุดผลงาน Homesick (2005)
ผลงานเเสดงเดี่ยวครั้งเเรกของเเดเนียล
ก็ได้ถูกจัดเเสดงขึ้นโดยในงานจะเต็มไปด้วยงาน
ประติมากรรมหลากหลายรูปแบบ เช่นอาคารสีขาวที่ถูกปกคลุม
ด้วยภูเขาน้ำเเข็ง เศษบันไดกองบล็อกสี่เหลี่ยม
หรือเศษเสาที่เเตกหักราวกับว่าโดยภัยพิบัติอะไรมา
ความไม่สมจริงเหนือจินตนาการเเละการเล่นกับวัตถุที่ไม่สมบูรณ์แบบ
ภายหลังสิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็น
เอกลักษณ์ในผลงานของเเดเนียลไปเลย
ในปี 2007
เเดเนียลได้ร่วมงานกับ Alex Mustonen (อเล็กซ์ มัสโตเนน)
เพื่อก่อตั้งสตูดิโอศิลปะเเละดีไซน์ที่ชื่อว่า Snarkitecture ขึ้นในนิวยอร์ก
โดยจุดประสงค์เพื่อเชื่อมโยงงานสถาปัตยกรรมศิลปะ
เเละงานดีไซน์เข้าไว้ด้วยกัน โดยพวกเขามุ่งมั่นในการสร้างสรรค์
ประสบการณ์ใหม่ๆให้เเก่ผู้คนและสังคมผ่านดีไซน์จากข้าวของ
เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันรวมไปถึงการผสมผสานงานศิลปะ
กับสถาปัตยกรรมเพื่อผลลัพธ์ใหม่ๆในโลกศิลปะ
รวมถึงออกแบบผลงานดีไซน์ที่มีฟังก์ชั่นใช้งานได้จริง
ในปี 2014
เเดเนียลได้ก่อตั้งบริษัทภาพยนตร์ชื่อ Flims of the Future
บริษัทโปรดักชั่นที่รับทำทั้งซีรีส์ และภาพยนตร์
โดยมีผลงานที่โดดเด่นอย่างภาพยนตร์สั้นชุด The Hour Glass
ภาพยนตร์สั้นที่จะบอกเล่าเรื่องราวของศิลปิน 9 คน
โดยหนึ่งในนั้นก็คือเเดเนียล ซึ่งความพิเศษของหนังสั้นในตอนนี้
คือเเดเนียลได้จับมือกับทาง Adidas
เพื่อบอกเล่าเรื่องราวทั้งในอดีต ปัจจุบัน เเละอนาคตของตัวเขาเอง
ในขณะที่เเดเนียลกำลังเดินทางผ่านกาลเวลาเขาได้สวมใส่รองเท้า
Daniel Arsham x adidas Future Runner 4D ไปด้วย
เรียกได้ว่าเป็นการ Tie- In สินค้า
ผ่านภาพยนตร์สั้นที่เท่ไม่น้อยเลยทีเดียว
ในปี 2014 เเดเนียลยังได้รับการเสนอชื่อให้เป็น
หนึ่งใน HB100 ของ HypeBeast
หรือก็คือ 100 บุคคลสุด Hype ในปี 2014
เเละจนถึงตอนนี้ชื่อของ Daniel Arsham
ก็ยังคงติดอันดับมาจนถึงปัจจุบัน
ก่อนจะจากกันไปเรามีผลงานสุดเจ๋งของ Daniel Arsham มาฝากกัน
ผลงานเเรกที่เราอยากเเนะนำก็คือหมวก Crystal Relic 001
ขนาด 8x5 นิ้ว งานประติมากรรมรูปหมวกที่หนัก กว่า 3 ปอนด์
ที่ทำขึ้นเลียนแบบหมวกเเก๊ป New York Yankees สุดคลาสสิก
โดยผลงานชิ้นนี้เเดเนียลเขาใช้ วลาพัฒนาถึง 2 ปี
จนได้ออกมาเป็นงานประติมากรรมรูปทรงหมวก
จากเเก้วคริสตัลที่ได้รับเเรงบันดาลใจจาก
โบราณวัตถุในศตวรรษที่ 18 ชิ้นนี้
อีกหนึ่งผลงานสร้างชื่อของเเดเนียล
กับผลงานชุด Time Dilation (2021)
ผลงานชุดนี้ถูกจัดเเสดงที่เเกลเลอรี่ Perrotin New York
ในงานจะเต็มไปด้วยงานประติมากรรมที่ถูกกัดเซาะอย่างมีศิลปะ
เเต่มีผลงานอยู่ชิ้นหนึ่งที่โดดเด่นมากๆ
นั้นก็คือเจ้าเรซิน Pikachu (พิคาชู)
ที่เต็มไปด้วยร่องรอยเเตกหักไม่สมบูรณ์
เเละไม่พอเเค่นั้นในนิทรรศการยังมีโปเกมอนตัวอื่นๆด้วย
เช่น Gengar, Mewto เเละ Poliwhirl
โดยเเดเนียลตั้งใจให้ผู้คนที่มาเยี่ยมชมงานของเขา
ได้กลายเป็นนักโบราณคดีเเห่งโลกอนาคต
เข้าตั้งใจจำลองวัตถุเหล่านี้ว่าถ้ามันผ่านเวลาไป 100 ปี
เเล้วมีนักโบราณคดีมาขุดเจอรูปร่างหน้าตามันจะออกมาเป็นยังไง
Daniel Arsham เขาได้เชื่อมโยงเเนวคิดจากโลกอนาคต
เข้ากับเรื่องราวการเปลี่ยนเเปลงของวัตถุรอบตัว สิ่งเเวดล้อม
ไปจนถึงจิตใจของมนุษย์ที่ผันเปลี่ยนไปตามยุคสมัย
ร่องรอยเเห่งกาลเวลาอันเป็นสัญลักษณ์ในผลงานของเเดเนียลนั้น
สะท้อนให้เราเห็นถึงจินตนาการอันไม่รู้จบ
พร้อมยังทิ้งคำถามให้เราได้ทบทวนถึงความเป็นไปในอดีต
ที่อาจส่งผลต่อโลกอนาคตงานศิลปะของเเดเนียลนั้น
เชื่อมโยงอดีต ปัจจุบันเเละอนาคตเข้าไว้ด้วยกันอย่างเเท้จริง